วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555



 คอมพิวเตอร์


                คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" 



          คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกถูกพัฒนาขึ้นโดยหน่วยงานวิจัยทางทหารของกองทัพบก สหรัฐอเมริกา
ในปี ค.ศ. 1946 หรือประมาณ 66 ปีมาแล้ว

          คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่พัฒนาขึ้นมามีชื่อว่า ENIAC ( Electronic Numerical Integrator And Calculator )  มีความยาว 80 ฟุต มีน้ำหนักมากถึง 30 ตัน ใช้หลอดสูญญากาศ 18,000 หลอด

          หลังจากที่ได้เกิด ENIAC ขึ้นมา เป้าหมายการพัฒนาคอมพิวเตอร์ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาไว้ดังนี้
1. ขนาดเล็ก Small Size มีความเร็วสูงมีความเที่ยงตรงแม่นยำในค่าคำนวณ
2. More power การทำงานของเครื่องต้องมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร การประมวลผลต้องรวดเร็ว และหน่วยความจำต้องมีมากขึ้น
3. Less Expense ต้องมีราคาถูก และต้องถูกลงไปเรื่อยตามขนาดที่จะต้องเล็กลง
ENIAC เป็นคอมต้นแบบและเป็นยุคแรกของคอมพิวเตอร์ ใช้ หลอดสูญญากาศ 

ในยุคที่ คอมพิวเตอร์ถูกเปลี่ยนจากหลอดสญญากาศที่มีขนาดใหญ่ มาเป็น ทรานซิสเตอร์ ที่เป็นอุปกรณ์ อิเลคทรอนิคส์ขนาดเล็ก เป็นสารกึ่งตัวนำ เซมิคอนดักเตอร์ 

คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีความเร็วสูง มีหน่วยการประมวลผลสูงสุด หน่วยการจัดเก็บข้อมูลสูงสุด ใช้สำหรับ หน่วยงานทางทหาร หน่วยงานทางวิจัย ต่างๆ และการพยากรณ์อากาศ การออกแบบเครื่องบินเป็นต้น

2. เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ (Mainframe computers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้ในหน่วยงาน หรือองค์กรขนาดใหญ่ เช่น สายการบิน ธนาคาร บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย เป็นต้น 

3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กและประสิทธิภาพรองลงมาจาก เมนเฟรม อีกที นำมาใช้ใน บริษัทขนาดกลาง ใช้ในระบบบัญชี หรือบางที อาจนำไปใช้ร่วมกับเมนเฟรมก็ได้

4. ไมโครคอมพิวเตอร์ ( Micro computers)  เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล้ก ส่วนบุคคล หรือ พีซี คอมพิวเตอร์ ( Personal Computers ) PC.  เป็นคอมพิวเตอรตั้งโต๊ะ หรือเป็นแบบพกพา เคลื่อนย้ายได้สะดวก


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


จอภาพหรือมอนิเตอร์ (Monitor)
     มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์ มีจอสำหรับแสดงผลเป็นข้อความหรือภาพ ทำให้เรามองเห็นตัวหนังสือ และตัวเลขที่พิมพ์ลงไปหรือภาพต่างๆ ได้



 หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Control Processing Unit หรือ CPU)
     เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งจากโปรแกรม ซึ่งอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะรวบรวมข้อมูลตามคำสั่งมาคิดคำนวณแล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ


 
     

แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard)
     เป็นแท่นมีปุ่มตัวหนังสือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆ เมื่อกดปุ่มใดข้อมูลที่ปุ่มนั้นจะถูกป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วไปปรากฏบนจอภาพ




เมาส์ (Mouse)
     เป็นอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับเลื่อนตัวชี้เมาส์หรือเคอร์เซอร์หรือลูกศรที่ปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์ มักใช้คู่กับแผ่นรองเมาส์ เป็นแผ่นพลาสติกเรียบ ใช้สำหรับรองเมาส์ให้เลื่อนไปมาได้สะดวก


เครื่องอ่านแผ่นซีดี (CD-Rom Drive)
     เป็นช่องสี่เหลี่ยมสำหรับใส่แผ่นซีดีรอม มักบรรจุอยู่ส่วนบนของกล่องซีพียูเคส (CPU Case) เครื่องขับแผ่นซีดี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 
     CD-R Drive ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้อย่างเดียว 
     CD-RW Drive สามารถใช้อ่านและเขียนบันทึกข้อมูลลงในแผ่นซีดีได้




 
เครื่องพิมพ์ (Printer)
     เป็นอุปกรณ์ทีเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงผลภาพหรือข้อความที่ปรากฏบนจอภาพ และพิมพ์ออกมาในรูปแบบของแผ่นกระดาษ เครื่องพิมพ์ในปัจจุบันมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะมีประสิทธิภาพในการใช้งานแตกต่างกัน





ลำโพง (Speaker)
     เป็นอุปกรณ์ทีเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยผ่านทางการ์ดเสียง ทำหน้าที่แสดงผลสัญญาณเสียงภายในคอมพิวเตอร์ออกมาให้เราได้ยิน





ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
         จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก  ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้

   1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
   
   2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
  
    3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
    
   4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกร  สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
   
   5. งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
    
   6. การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด